ยกเหล็ก ได้ข่าวดีรับสงกรานต์ เมื่อศาลกีฬาโลก อนุญาตให้ไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันระดับนานาชาติได้แล้ว หลังโดนแบนจากการพบนักกีฬาใช้สารกระตุ้น
ยกเหล็ก – ตามที่สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการ ทำเรื่องอุทธรณ์ เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ยกน้ำหนักไทย ต่อศาลกีฬาโลก ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 ตามคดีเลขที่ CAS 2020/A/6981 นั้น
นายนิพนธ์ ลิ่มบุญสืบสาย ประธานคณะทำงานกฎหมายระหว่างประเทศของสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รายงานถึงผลแห่งคดีอันเป็นคำตัดสินที่ถือได้ว่าเป็นที่ยุติแล้ว จากคณะอนุญาโตตุลาการของศาลกีฬาโลก ระหว่างผู้อุทธรณ์ คือสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย กับสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (ไอดับลิวเอฟ) โดยภาพรวมเป็นไปตามเป้าประสงค์หลักของสมาคมในการต่อสู้เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับบุคคลากรของกีฬายกน้ำหนัก เป็นสำคัญ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ภาคส่วนหลัก
ส่วนที่ 1 นักกีฬายกน้ำหนักระดับยุวชน สามารถกลับเข้าไปแข่งขันในรายการระดับนานาชาติของไอดับบลิวเอฟได้แล้ว เพราะโทษห้ามเข้าร่วมการแข่งขันหมดไปตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 สำหรับนักกีฬายกน้ำหนักในระดับนอกเหนือข้างต้นคือ เยาวชน และประชาชน สามารถกลับเข้าไปร่วมการแข่งขันได้ หลังจากวันที่ 18 มิถุนายน 2564
แต่ถ้าหากต้องการกลับเข้าไปแข่งขันนานาชาติของไอดับบลิวเอฟในทันทีนั้นทางสมาคมต้องชำระเงินประมาณ 6,400,000 บาทให้ไอดับบลิวเอฟ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ไม่สามารถเข้าร่วมในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกส์เกมส์ ที่กรุงโตเกียว ได้
ส่วนที่ 2 เจ้าหน้าที่ทางเทคนิค ที่จะไปเป็นผู้ตัดสินหรือกรรมการตัดสินนานาชาติ สามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้ในทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
ส่วนที่ 3 สมาคมจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการดำเนินการกิจกรรมจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2566 โดยไม่มีสิทธิ์ในจัดการแข่งขัน จัดประชุมคองเกรส จัดประชุมกรรมการบริหาร จัดประชุมกรรมาธิการและกรรมการชุดอื่นใดได้ ไม่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมคองเกรส หมายรวมถึงการออกเสียง ไม่มีสิทธิ์ในการยื่นหรือเสนอญัตติ และวาระต่างๆ ในการประชุมคองเกรส และไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมและรับสิทธิ์ประโยชน์จากโครงการของไอดับลิวเอฟ ยกเว้นการศึกษากับเข้าอบรมในเรื่องการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลกีฬาโลก ได้เปิดช่องให้ระยะเวลาการถูกจำกัดสิทธิ์ของสมาคมนั้น สามารถกระชับหรือย่อขึ้นมาได้ประมาณ 1 ปี โดยให้ไปสิ้นสุดได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2565 (จากวันที่ 1 เมษายน 2566) ได้ เพียงสมาคมชำระเงินประมาณ 6,400,00 บาท
พร้อมกันนี้สมาคมจะต้องแสดงถึงเจตนารมณ์พร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์ของการปฏิบัติที่เป็นจริงในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาที่สอดคล้องเป็นไปตามประมวลมาตรฐานขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (วาดา) โดยให้กับชุดคณะทำงานของไอดับบลิวเอฟ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรรมการอิสระจากภายนอกมาติดตามผลการปฏิบัติงานของสมาคม
นายนิพนธ์ กล่าวว่า “โดยสรุปแล้วผมคิดว่าสมาคม ได้บรรลุการทำงานในระดับยุทธศาสตร์ อันมีเป้าหมายคำนึงถึงบุคคลกรทางการกีฬายกน้ำหนัก ได้แก่ นักกีฬายกน้ำหนัก กับเจ้าหน้าที่เทคนิคของสมาคม เป็นศูนย์กลางหรือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญ ซึ่งเห็นได้จากคำตัดสินแสดงถึงความเมตตาจากท่านในองค์คณะอนุญาโตตุลากรของศาลกีฬาโลกในคดีนี้ โดยทางเราน้อมรับและเคารพในการตัดสินทุกประการ”
“นอกจากนี้แล้ว สมาคมได้มีหลายสิ่งอย่างที่พวกเราจำเป็นต้องถอดเป็นบทเรียน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นกับสมาคมซ้ำอีก สมาคมกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นองค์กรกีฬาอัจฉริยะ โดยมีบุคลากรอันทรงคุณค่าระดับสากลในการขับเคลื่อนเสมือนเฟืองหนึ่งที่สำคัญในการสร้างพลังอำนาจทางกีฬาให้กับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้”
อ่านบทความและอื่น ๆ ( ยกเหล็ก เฮลั่น ศาลกีฬาโลกอนุญาตไทยส่งนักกีฬาลงแข่งระดับนานาชาติ - ข่าวสด )https://ift.tt/3wR1TDZ
กีฬา
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ยกเหล็ก เฮลั่น ศาลกีฬาโลกอนุญาตไทยส่งนักกีฬาลงแข่งระดับนานาชาติ - ข่าวสด"
Post a Comment