Search

จับตา!ดาวหาง 2 ดวง เฉียดโลกก.ค.นี้ - สยามรัฐ

planetyugie.blogspot.com

ดวงแรก Lemmonต้องมองผ่านกล้อง ชมได้ช่วงครึ่งเดือนแรกของก.ค. ส่วนดวงที่สอง NEOWISE มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แนะระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค.จะเห็นชัดสุด

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ “#Lemmonและ #NEOWISE 2 ดาวหางน่าติดตามในเดือนกรกฎาคม 63

ในเดือนกรกฎาคมนี้ มีดาวหางโคจรเข้ามาใกล้โลกถึงสองดวง และกำลังเป็นที่สนใจของนักดาราศาสตร์ เนื่องจากสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ ดาวหาง C/2019 U6 (Lemmon) และ ดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE) สำหรับดวงแรก แม้ไม่สว่างพอจะเห็นด้วยตาเปล่า แต่มองผ่านกล้องสองตาได้ ส่วนอีกดวง สว่างจนอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้แม้ในแสงสนธยา มาดูข้อมูลเพิ่มเติมของดาวหางทั้งสองดวงกัน

ดาวหาง C/2019 U6 (Lemmon)

เป็นดาวหางคาบยาว ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบยาวนานถึง 9,032 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแห่งภูเขาเลมมอน (Mount Lemmon Survey) เมื่อ 31 ตุลาคม 2562 และโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ประมาณการค่าอันดับความสว่างปรากฏไว้ที่ 6.7 (ค่าอันดับความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีค่าประมาณ 6) ถือว่าสว่างจนเกือบจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องสองตา อาจมองเห็นได้ในช่วงเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า

ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหาง C/2019 U6 (Lemmon) อยู่ในกลุ่มดาวเครื่องวัดมุม (Sextans) จากนี้จะเคลื่อนที่ไปทางตะวันออก เข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต (Leo) และต่อด้วยกลุ่มดาวหญิงสาว (Virgo) การเดินทางของดาวหางทั้งหมดนี้จะอยู่ระหว่างวันที่ 3 - 15 กรกฎาคม 2563 ค่าอันดับความสว่างปรากฏที่คาดการณ์ไว้ ประมาณ 6.5 และกำลังลดลงเรื่อยๆ ดังนั้น ช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการดูดาวหางดวงนี้

ดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE)
เป็นดาวหางคาบยาว ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ 7,125 ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) เป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด อยู่ในโครงการที่มุ่งสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 และได้เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีค่าอันดับความสว่างปรากฏ 1.9 เป็นระดับที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เราสามารถเฝ้าดูดาวหางดวงนี้ได้ในช่วงรุ่งสางทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่เพิ่งออกห่างจากจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวหางดวงนี้จะยังอยู่ไม่ห่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้สังเกตได้ยากเนื่องจากถูกแสงอาทิตย์บดบัง

ตำแหน่งปัจจุบันของดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE) อยู่ในกลุ่มดาวสารถี (Auriga) จากนี้จะเคลื่อนที่ขยับไปทางทิศเหนือผ่านกลุ่มดาวแมวป่า (Lynx) ช่วงวันที่ 1 - 16 กรกฎาคม 2563 สังเกตได้ในช่วงเช้ามืด ดาวหางจะปรากฏอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้

หลังจากวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะสังเกตดาวหางได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ที่สุด คือช่วงวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 3.6 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE) เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อยจนไม่สามารถสังเกตเห็นได้

เรียบเรียง : สิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าสารสนเทศดาราศาสตร์ระดับชำนาญการ สดร.
อ้างอิง : 
[1] https://theskylive.com/
[2] http://astro.vanbuitenen.nl/
[3] https://skyandtelescope.org/"




July 05, 2020 at 10:36AM
https://ift.tt/2W3moN1

จับตา!ดาวหาง 2 ดวง เฉียดโลกก.ค.นี้ - สยามรัฐ

https://ift.tt/3cN12d5


Bagikan Berita Ini

0 Response to "จับตา!ดาวหาง 2 ดวง เฉียดโลกก.ค.นี้ - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.