Search

เล่นน้ำสงกรานต์ให้สนุก ใช้“มือถือ”ต้องปลอดภัย - เดลินิวส์ออนไลน์

“เทศกาลสงกรานต์” ได้เวียนกลับมาบรรจบอีก 1 ปี แล้ว โดย “สงกรานต์ปี 66” คาดหมายกันว่า การเดินทางท่องเที่ยวจะกลับมา “คึกคัก” อีกครั้ง เมื่อการระบาดของ “โควิด-19” ซาลงแล้ว!!

และมีการเปิดประเทศให้ “คนไทย” และ “คนต่างชาติ” เดินทางท่องเที่ยวได้เต็มที่ ประกอบกับ หลายสถานที่ ก็ประกาศ “จัดเต็ม”  กิจกรรมเล่นสาดน้ำสงกรานต์แบบมันหยด!!  เรียกว่าใกล้ที่ไหน หรือ อยากไปเที่ยวงานใด ก็เลือกไปเที่ยวได้ทั่วไทยเลย!?!

อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่า ไปเที่ยวสงกรานต์ คงหนีไม่พ้น เล่นสาดน้ำ ช่วยคลายร้อนในช่วงนี้  แน่นอนว่าหลายๆ คนอาจต้อง พกอุปกรณ์ไอที อิเล็กทรอนิกส์ และแกดเจ็ต ติดตัว ซึ่งก็มีโอกาสที่จะโดนสาดน้ำแบบไม่ตั้งใจ เสี่ยงที่อุปกรณ์เหล่านี้จะเสียหายได้

ดยเฉพาะ “โทรศัพท์มือถือ” หรือ “สมาร์ทโฟน” ที่ถือ เป็นอุปกรณ์ติดตัวที่ทุกคนต้องพกพากันในช่วง เทศกาลสงกรานต์ แน่นนอนว่าก็มีความเสี่ยงสูง ที่อาจจะโดนน้ำได้ แต่ปัจจุบัน “สมาร์ทโฟน” รุ่นใหม่ๆ  ที่ออกมาวางขาย ในตลาด ต่างก็มีมาตรฐานทนน้ำในระดับ IP68 และ IP67 ที่สามารถแช่อยู่ในน้ำได้เป็นเวลาสูงสุด 30 นาที

โดย IP67 จะทนน้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร ภายในระยะเวลาสูงสุด 30 นาที และ IP68 ทนน้ำความลึกไม่เกิน 1.5 เมตร ในระยะเวลาสูงสุด 30 นาที ซึ่งสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นก็จะมีบอกว่ากันน้ำได้ในระดับใด ให้ดูที่คู่มือการใช้งานได้เลย!

อย่างไรก็ตามแม้สมาร์ทโฟนจะมีมาตรฐานในการกันน้ำได้  แต่ก็ไม่ควรเสี่ยงให้โดนน้ำ  สิ่งที่ดีที่สุด เราควรหาซองกันน้ำ มาใส่มือถือของเราจะดีกว่าเพื่อความปลอดภัย  เพราะว่า แม้สมาร์ทโฟนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานกันน้ำ ก็จริง  แต่การเล่นสงกรานต์ ต้องเจอสารพัดน้ำจากแหล่งต่างๆ ซึ่งก็ไม่รู้จะมีความสะอาดมากน้อยแค่ไหน หากเป็นน้ำจากคูคลอง อาจมีตะกอน มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก

 รวมถึงเจออุณภูมิที่ร้อนในช่วงนี้  และหากเป็นมือถือที่เราซื้อมานานแล้ว ซีสกันน้ำอาจจะเสื่อมสภาพ ตามระยะเวลาใช้งาน ก็อาจทำให้น้ำซึมเข้าเครื่องได้ง่ายขึ้นจนเกิดความเสียหายได้   เรียกว่า “ป้องกันไว้ดีกว่าแก้” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเงินซ่อมมือถือ จะพาทำเอาการเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ กร่อยหมดสนุกไป!?!

ส่วนใครที่มือถือไม่ได้กันน้ำ แนะนำให้หาซองกันกันมาใช้กันได้เลย ซึ่งก็มีขาย หรือมีแจกกันในช่วงนี้ แต่ควรใช้ซองกันน้ำที่มีคุณภาพ กันน้ำได้จริงๆ โดยสามารถทดสอบโดยการนำลองไปแช่น้ำ 10-15 นาที แล้วดูว่ามีน้ำซึมเข้าไปในถุงหรือไม่?

หรืออาจจะหาถุงพลาสติก มาใส่มือถือก่อนแล้วใช้หนังยางรัด ก่อนที่จะนำไปใส่ซองกันน้ำ ก็จะเป็นการป้องกันสองชั้น เพิ่มความอุ่นใจได้มากขึ้นว่ามือถือของเราจะปลอดภัยจากน้ำเข้าในช่วงสงกรานต์นี้!!

สำหรับอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ ควรชาร์จแบตเตอรี่ มือถือให้เต็มไว้ เพราะการออกไปเล่นน้ำคงจะหาที่ชาร์จได้ยาก และ การที่ตัวเปียก ก็ไม่ควรจะหยิบจับอุปกรณ์ แล้วนำไปเสียบปลั๊กไฟ เพราะเสี่ยงที่จะถูกไฟดูดได้!?!

ภาพ pixabay.com

ควรที่จะใช้เพาเวอร์แบงก์แทนจะดีกว่าแต่ก็ต้องเก็บให้มิดชิดในซองกันน้ำเช่นเดียวกัน เพราะหากถูก น้ำเข้าขึ้นมาก็เสียได้ง่ายๆ  เพราะเพาเวอร์แบงก์จะไม่ได้มีมาตฐานกันน้ำแบบโทรศัพท์มือถือ!!

อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ “พลาด” ไม่สามารถปกป้องมือถือของตนเองได้ โดนน้ำเข้าในการเล่นสงกรานต์นั้น ก็มีหลายวิธีที่นิยมทำกัน หนึ่งในนั้นก็คือการเอามือถือไปใส่ไว้ในถึงข้าวสารเพื่อให้ช่วยดูดความชื้นนั้น แต่วีธีนี้ทางผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกแล้วว่า “ไม่ใช่วีธีที่ถูกต้อง”

เพราะการนำมือถือไปวางไว้ในถังข้าวสารนั้น ในถังอาจจะมีเศษข้าวเล็กๆ กากเปลือกข้าว และรำ ซึ่งอาจส่งผลให้มือถือ ได้รับความเสียหายพิ่มขึ้นได้ จากที่เศษข้าวและรำ หลุดเข้าไปตามซอกเล็กๆของมือถือนั่นเอง!?!

ส่วนอีกวิธีที่นิยมที่นิยมทำกันนั้นเมื่อน้ำเข้าเครื่องมือถือ แล้วนำไดร์เป่าผม มาเป่านั้น วีธีนี้ ก็ไม่ถูกต้อง ไม่แนะนำเช่นกัน เพราะเมื่อนำไดร์เป่าผมมาเป่านั้น ไอความร้อนจากลมของไดร์เป่าลม อาจทำให้มือถือพังได้ เรียกว่าจากที่จะพังจากน้ำเข้า กลายเป็นพังจากความร้อนแทน!!

อย่างไรก็ตามเมื่อโทรศัพท์มือถือเราถูกน้ำเข้า วีธีที่ดีที่สุด ในการแก้ไขด้วยตนเองเบื้องต้น ก็คือ ให้ปิดเครื่องแล้ว รีบเอาผ้าเช็คโทรศัพท์มือถือของเราให้แห้งก่อน จากนั้นให้หาซองดูดความชื้น ที่ข้างในเป็น ซิลิกาเจล (Silica Gel) สารช่วยดูดความชื้น มาใส่ในกล่อง หรือซองที่มีซิบล็อค พร้อมกับมือถือของเรา  เพื่อทำการไล่ความชื้นออกก่อน

ภาพ unsplash.com

แล้วทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน  เพื่อให้ดูดความชื้นออก แล้วลองเปิดเครื่องหากสามารถใช้งานได้ตามปกติ ก็ไม่ต้องส่งซ่อมให้เสียเงิน

แต่หากการแก้ไขด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้ว ยังไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทางที่ดีที่สุด ก็คงต้องนำเครื่อง ส่งเข้าซ่อมที่ศูนย์ หรือที่ร้านรับซ่อมมือถือ เพื่อให้ช่างที่เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพเครื่องให้ว่ามีความเสียหายตรงส่วนไหน เพื่อประเมินราคาค่าอะไหล่ และค่าซ่อม  แล้วลองพิจาณาดูว่า ค่าซ่อมที่ต้องจ่าย กับการเสียเงินซื้อเครื่องใหม่เลย อย่างไหนจะคุ้มกว่ากัน??

ทั้งหมดเป็นการดูแลมือถือเครื่องโปรดให้มีความปลอดภัย และวิธีแก้ไขเบื้องต้นหากถูกน้ำเข้าเครื่อง ยังไงก็ขอให้ทุกคนเดินทางท่องเที่ยวให้สนุก และเดินทางกลับบ้านเยี่ยมญาติช่วงสงกรานต์ปีนี้ ด้วยความปลอดภัยทุกคน พร้อมกลับมาปฎิบัตภารกิจหน้าที่ และดำเนินชีวิตกันต่อหลังหมดเทศกาลสงกรานต์ปีนี้.

จิราวัฒน์ จารุพันธ์

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( เล่นน้ำสงกรานต์ให้สนุก ใช้“มือถือ”ต้องปลอดภัย - เดลินิวส์ออนไลน์ )
https://ift.tt/Ei942wn
แกดเจ็ต

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เล่นน้ำสงกรานต์ให้สนุก ใช้“มือถือ”ต้องปลอดภัย - เดลินิวส์ออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.