อย่างไรก็ตาม แม้สมาคมฯจะสอบสวนภายใน พบว่า เจลหรือยาที่โค้ชจีนใช้ทาเพื่อรักษาอาการเจ็บให้นักกีฬา คือต้นตอของปัญหาทั้งหมด ซึ่งยืนยันว่าการตรวจเจอโด๊ปไม่ใช่เรื่องตั้งใจของนักกีฬา แต่ก็ไม่เป็นผล
เมื่อสหพันธ์ฯ ยืนยันโทษแบนและไม่มีกำหนดยอมให้ไทยลงแข่งขันเมื่อใด
ทำให้ตลอดปี 2019 ทีมยกเหล็กไทย พลาดลงแข่งขันรายการสำคัญหลายรายการ โดยเฉพาะศึกชิงแชมป์โลก รายการเก็บคะแนนไปโอลิมปิก โตเกียว 2020 เมื่อเดือน ก.ย. ทั้งที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
ทำให้เป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี นับตั้งแต่ปี 1992 ที่ไม่มีนักกีฬายกน้ำหนักไทย ในกีฬาโอลิมปิก!!!
ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2020 บทลงโทษจากสหพันธ์ฯจึงชัดเจน เมื่อคณะกรรมการอิสระของสหพันธ์ฯได้ดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจัง ก่อนได้ข้อสรุปในการลงโทษสมาคมฯออกมา
ในส่วนของบุคลากรสมาคมฯ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับสหพันธ์ฯ 3 ปี และห้ามนักกีฬา อายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงรุ่นทั่วไป ลงแข่งขันในรายการระดับนานาชาติ เป็นเวลา 5 เดือน และ 11 เดือนตามลำดับ นับตั้งแต่รายการแรกที่จะจัดในอนาคต
และแน่นอนว่า สมาคมฯเดินหน้าสู้ในเรื่องนี้แบบเต็มตัวเหมือนกัน โดยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลกีฬาโลกในทันที เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2020 เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด
โดย นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานที่มีประสบการณ์ นำโดย นายนิพนธ์ ลิ่มบุญสืบสาย มาเป็นประธานคณะทำงานกฎหมายระหว่างประเทศ ร่วมด้วย นายณัฎฐ์ ธีรณัฐ-สุภานนท์ อุปนายกสมาคมฯ และ พ.ท.หญิง ดร. อภิญญา ดัชถุยาวัตร เลขาธิการฯ
และจากวันนั้น จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 1 ปี หลังจากดำเนินการในด้านต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างดูเหมือนจะคลี่คลายลง ยกน้ำหนักไทย มีทางออกเป็นที่เรียบร้อย
ในเรื่องนี้ นายนิพนธ์กล่าวว่า ผลการยื่นอุทธรณ์ โดยภาพรวม เป็นไปตามเป้าประสงค์หลักของสมาคมฯ ในการต่อสู้เพื่อขอความเป็นธรรมให้กับบุคลากรของกีฬายกน้ำหนักเป็นสำคัญ
สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ ส่วนแรก นักกีฬาระดับยุวชน สามารถกลับไปแข่งขันรายการระดับนานาชาติของสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติได้แล้ว
ส่วนประเภทเยาวชน และประชาชน กลับไปเข้าร่วมได้ หลังวันที่ 18 มิถุนายน 2021 แต่ถ้าหาก ต้องการกลับไปแข่งขันทันที สมาคมฯจะต้องชำระเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6,400,000 บาทให้สหพันธ์ฯ โดยยังไม่สามารถเข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 ได้
ส่วนที่ 2 ผู้ตัดสินหรือกรรมการตัดสินนานาชาติของไทย สามารถกลับไปปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที โดยไม่มีเงื่อนไข
และส่วนที่ 3 สมาคมฯจะถูกจำกัดสิทธิ์ในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2023 โดยไม่มีสิทธิในการจัดการแข่งขัน จัดประชุมคองเกรส จัดประชุมกรรมการบริหาร จัดประชุมกรรมาธิการและกรรมการชุดอื่นใดได้
ไม่มีสิทธิในการเข้าร่วมประชุมคองเกรส หมายรวมถึงการออกเสียง ไม่มีสิทธิในการยื่นหรือเสนอญัตติ และวาระต่างๆ ในการประชุมคองเกรส และไม่มีสิทธิเข้าร่วมและรับสิทธิประโยชน์จาก IWF Development Program ยกเว้นการศึกษากับเข้าอบรมในเรื่องการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา
อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลกีฬาโลกได้เปิดช่องให้ระยะเวลาการถูกจำกัดสิทธิ์ของสมาคมฯ สามารถกระชับขึ้นมาได้เร็วขึ้นประมาณ 1 ปี โดยให้ไปสิ้นสุดได้ในวันที่ 7 มีนาคม 2022 ได้ เพียงสมาคมฯชำระเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 6,400,000 บาท
พร้อมกันนี้ สมาคมฯ จะต้องแสดงถึงเจตนารมณ์พร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์ของการปฏิบัติที่เป็นจริง ในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา ที่สอดคล้องเป็นไปตามประมวลมาตรฐานของวาดา
โดยให้ชุดคณะทำงานของสหพันธ์ฯ ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นกรรมการอิสระจากภายนอก Independent Monitoring Group (IMG) มาติดตามผลการปฏิบัติงานของสมาคมฯ
“คำตัดสินแสดงถึงความเมตตาจากคณะอนุญาโตตุลาการศาลกีฬาโลก โดยทางเราน้อมรับและเคารพในการตัดสินทุกประการ
นอกจากนี้แล้ว สมาคมฯ ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเราจำเป็นต้องถอดเป็นบทเรียน เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นกับสมาคมฯซ้ำอีก
สมาคมฯกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นองค์กรกีฬาอัจฉริยะ โดยมีบุคลากรอันทรงคุณค่าระดับสากลในการขับเคลื่อนเสมือนเฟืองหนึ่งที่สำคัญ ในการสร้างพลังอำนาจทางกีฬาให้กับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้” นายนิพนธ์กล่าวเอาไว้อย่างน่าสนใจ
จากเมื่อปี 2019 เป็นเรื่องสะเทือนความรู้สึก ตอนนี้ปี 2021 ถือเป็นข่าวดีแบบสุดๆของวงการกีฬาไทยเลยก็ว่าได้ เมื่อยกน้ำหนักจะคัมแบ็กคืนเวทีอีกครั้ง
ได้เวลาที่แฟนๆกีฬาจะกลับมามีรอยยิ้มสุขสมหวังกับกีฬานี้ ในการแข่งขันรายการต่างๆ
เหมือนเช่นเคยแล้ว...
กัญจน์ ศิริวุฒิ
https://ift.tt/3efj8WO
กีฬา
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ศาลกีฬาโลกไฟเขียว ยกน้ำหนักไทยคัมแบ็ก - ไทยรัฐ"
Post a Comment