ภารกิจป้องกัน “วันสิ้นโลก” เพื่อการอยู่รอดของมนุษยชาติ กับอีกโครงการของนาซาที่เตรียมทดสอบเทคโนฯเพื่อป้องกันโลกจากการพุ่งชนของวัตถุนอกโลก
เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ “นาซาประกาศ ให้ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส (65803 Didymos) เป็นเป้าหมายของโครงการเบนวิถีโคจรดาวเคราะห์น้อยคู่ (The Double Asteroid Redirection Test) หรือ #DART โดยมีกำหนดการปล่อยขึ้นสู่อวกาศในช่วงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 ภารกิจหลักคือการทดสอบเทคโนโลยีที่จะใช้ป้องกันโลกจากการพุ่งชนของวัตถุนอกโลก
#ดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส จัดเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (near-Earth asteroid) ค้นพบโดย โจ มอนตานี (Joe Montani) เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 ด้วยกล้องดูดาวขนาดหน้ากล้อง 0.9 เมตร ของหอดูดาวสจวต ของมหาวิทยาลัยแอริโซนา และใช้เวลาติดตามอย่างยาวนานจนสามารถระบุวงโคจรที่แน่นอนได้ แต่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2546 นักดาราศาสตร์ชาวเช็กเกีย เปเตอร์ ปราเวตส์ (Petr Pravec) พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีคู่เหมือน จึงเป็นที่มาของชื่อ #ดีดิมอส (Didymos) มาจากคำภาษากรีก δίδυμος แปลว่า คู่แฝด
คู่แฝดของมันเป็นบริวารขนาดเล็กหรือจะเรียกว่าเป็นดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดีดิมอสก็ได้ ล่าสุด ทางสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU) ได้อนุมัติชื่ออย่างเป็นทางการของดวงจันทร์ดวงนี้ว่า “ดีมอร์ฟอส” (Dimorphos มีความหมายว่า สองรูปแบบ) สื่อถึงรูปแบบวงโคจรที่จะเปลี่ยนไปด้วยฝีมือของมนุษย์ผ่านภารกิจ DART โดยดาวเคราะห์น้อยดีดิมอสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 780 เมตร ส่วนดีมอร์ฟอสมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 160 เมตร
จริง ๆ แล้วดีดิมอสไม่ใช่วัตถุที่จะพุ่งชนหรือเฉียดโลกเลยแม้แต่น้อย แต่เป็นเป้าหมายที่เหมาะสมในการทดสอบเทคโนโลยีมากที่สุด กล่าวคือ เป็นการทดสอบการเบี่ยงเบนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย ด้วยวิธี “Kinetic Impact” หรือการใช้ยานพุ่งชนเป้าหมายด้วยอัตราเร็วสูง โดยเป้าหมายคือการเปลี่ยนวงโคจรของดวงจันทร์ดีมอร์ฟอส ที่กำลังโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส
การพุ่งชนของยาน DART จะลดอัตราเร็วในการโคจรของดีมอร์ฟอส และจะมีการเฝ้าสังเกตการณ์จากกล้องโทรทรรศน์บนโลก เพื่อศึกษาว่าดาวเคราะห์น้อยทั้ง 2 ดวงมีการตอบสนองต่อการพุ่งชนครั้งนี้อย่างไร นอกจากนี้ยังมียานขนาดเล็กชื่อว่า “LICIACube” ที่จะแยกตัวออกมาก่อนการพุ่งชน ทำหน้าที่ในการบันทึกการพุ่งชนของ DART อีกด้วย
ยาน DART มีอุปกรณ์ชื่อว่า “DRACO” (Didymos Reconnaissance & Asteroid Camera for OpNav) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงที่ต่อยอดมาจากอุปกรณ์ถ่ายภาพของยานนิวฮอไรซันส์ ใช้ในการนำทางและระบุตำแหน่งของเป้าหมาย มีเครื่องยนต์หลักชื่อว่า “NEXT-C” (NASA’s Evolutionary Xenon Thruster – Commercial) เป็นเครื่องยนต์ยุคใหม่ที่ใช้แผงรับพลังงานแสงอาทิตย์และสร้างแรงขับดันโดยใช้ซีนอน
ภารกิจ DART เกิดจากความร่วมมือกันของหลายหน่วยงาน นำโดย สำนักงานความร่วมมือเพื่อปกป้องดาวเคราะห์ (Planetary Defense Coordination Office) องค์การนาซา และห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ และยังมีหน่วยงานอื่น ๆ เข้าร่วมด้วย นอกจากนี้โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระดับนานาชาติชื่อว่า “Asteroid Impact and Deflection Assessment” (AIDA) ซึ่งร่วมมือกับองค์การอวกาศแห่งยุโรปที่กำลังจะส่งยานลำต่อไป ชื่อ HARA เพื่อไปยังดีมอร์ฟอสอีกครั้งในปี พ.ศ. 2567
----------------------------------------------------------------
เรียบเรียง : สิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.
---------------------------------------------------------------
อ้างอิง :
[1] www.nasa.gov/…/nasas-first-planetary-defense-mission-target…
[2] www.nasa.gov/planetarydefense/dart
[3] www.iau.org/news/pressreleases/detail/iau2007
[4] https://dart.jhuapl.edu/Mission/index.php
July 04, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/3dSr4v6
“Kinetic Impact” ปฎิบัติการนาซาปกป้องโลก - สยามรัฐ
https://ift.tt/3cN12d5
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“Kinetic Impact” ปฎิบัติการนาซาปกป้องโลก - สยามรัฐ"
Post a Comment