Search

สดร.เผยภาพ 'ดาวหางนีโอไวส์' อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด - ไทยรัฐ

planetyugie.blogspot.com

สดร. เผยแพร่ภาพดาวหางนีโอไวส์ ที่ถ่ายขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อคืนวันพฤหัสบดี โดยเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นอีกครั้งต้องรอนานกว่า 6,700 ปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เก็บภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” ในคืนใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 103 ล้านกิโลเมตร ปรากฏสว่างบนท้องฟ้าพร้อมหางฝุ่นยาวกว่าสิบองศา เห็นด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

สำหรับภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” ที่บันทึกได้ในครั้งนี้ บันทึกเมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. บริเวณอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏชัดทั้งหางฝุ่นและหางแก๊ส ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์โคจรเข้าใกล้โลกที่สุด นับเป็นโอกาสดีที่ในคืนดังกล่าวท้องฟ้าบริเวณนี้กระจ่างใส เหมาะแก่การบันทึกภาพดาวหางไว้เป็นความทรงจำอย่างยิ่ง หลังจากวันนี้ ดาวหางดวงนี้จะมีความสว่างลดลง เนื่องจากโคจรออกห่างดวงอาทิตย์และโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับมีแสงจันทร์รบกวน จึงสังเกตเห็นได้ค่อนข้างยาก

ทั้งนี้ ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว โคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767 ปี ค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) เป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และเข้าใกล้โลกที่สุดวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตรแม้ดาวหางนีโอไวส์ จะกลับมาเยือนโลกอีกครั้งในอีก 6,767 ปี แต่ก็ยังคงมีดาวหางอีกหลายดวงที่จะแวะเวียนเข้ามาใกล้โลกอีกเรื่อย ๆ แต่จะสว่างเห็นด้วยตาเปล่าเช่นเดียวกับดาวหางดวงนี้ หรือไม่ ต้องรอติดตามกันต่อไป

อนึ่ง สาระน่ารู้เกี่ยวกับดาวหาง ดาวหางเป็นเสมือนก้อนของน้ำแข็ง หินและฝุ่น หลายคนเรียกว่า “ก้อนน้ำแข็งสกปรก” ที่โคจรไปในระบบสุริยะ ดาวหางส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก (ความกว้างของตัวดาวหางเพียงไม่กี่กิโลเมตร) เราทราบว่ามีดาวหางอย่างน้อย 5,000 ดวงที่อยู่ในระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ายังมีดาวหางอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน บริเวณระบบสุริยะชั้นนอก ในแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต

ช่วงเวลาส่วนใหญ่ในการโคจรของดาวหางนั้น จะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวหางด้วยตาเปล่า แต่พอดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น น้ำแข็งบนตัวดาวหางจะเริ่มอุ่นขึ้นและเกิดการระเหิด (การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส) ไอน้ำและฝุ่นที่ถูกปล่อยออกมาจากการระเหิด ก่อให้เกิดหางเหยียดยาวจากใจกลางของดาวหาง ที่เรียกว่า “นิวเคลียส” ออกไปทางด้านหลัง

ดาวหางมีหางอยู่ 2 แบบ ได้แก่ “หางฝุ่น” (Dust Tail) เป็นทางของก้อนกรวดเล็กๆและฝุ่นที่ดาวหางทิ้งไว้ตามแนวการเคลื่อนที่ของดาวหาง กับ “หางไอออน” (Ion tail) เป็นสายธารของแก๊สเรืองแสงที่ถูก “เป่า” โดยลมสุริยะ มีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์ตลอด หางไอออนเป็นหางที่สว่างกว่าหางฝุ่นและเป็นหางเพียงแบบเดียวที่เรามีแนวโน้มจะเห็นได้โดยไม่ต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์

อ่านเพิ่มเติม...




July 24, 2020 at 05:40AM
https://ift.tt/30JwVhw

สดร.เผยภาพ 'ดาวหางนีโอไวส์' อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3cN12d5


Bagikan Berita Ini

0 Response to "สดร.เผยภาพ 'ดาวหางนีโอไวส์' อวดหางยาวในคืนเข้าใกล้โลกที่สุด - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.