(ภาพจาก : CC0 Public Domain)
เมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ในอังกฤษ ตีพิมพ์ในวารสารฟิสิกส์ดาราศาสตร์ รายงานว่าโอกาสค้นพบดาวเคราะห์ คล้ายโลกในระยะแรกของการก่อตัวหรือเรียกว่าดาวเคราะห์อายุน้อยนั้น สูงกว่าที่เคยคิดไว้มาก หลังจากสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์ไกอา (Gaia) ศึกษากลุ่มดาวฤกษ์อายุน้อยในกาแล็กซีทางช้างเผือก เพื่อดูว่ากลุ่มดาวฤกษ์เหล่านี้มีรูปแบบอย่างไร โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎีและการสำรวจก่อนหน้าในพื้นที่ก่อตัวดาวฤกษ์อื่นๆในอวกาศ
ทีมวิจัยพบว่ามีดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์มากกว่าที่คาดไว้ในกลุ่มดาวฤกษ์เหล่านี้ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกในระยะแรกของการก่อตัวนั่นเอง เพราะในช่วงแรกของการก่อตัวดาวเคราะห์คล้ายโลกนี้ถูกเรียกว่าดาวเคราะห์มหาสมุทรแมกมา ที่ทำให้ตรวจจับได้ง่ายกว่าดาวฤกษ์ใกล้เคียง เช่น ดวงอาทิตย์ซึ่งหนักกว่าดาวมวลทั่วไปถึง 2 เท่า ดาวเคราะห์อายุน้อยเหล่านี้ปล่อยความร้อนมาก หากใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดรุ่นต่อไปจะสามารถสังเกตเห็นแสงจากดวงดาวได้
สถานที่ที่จะพบดาวเคราะห์อายุน้อยก็คือกลุ่มดาวอายุน้อยกว่า 100 ล้านปี มีอายุน้อยกว่าดาวฤกษ์ ซึ่งการค้นพบนี้จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่าการก่อตัวดาวฤกษ์และดาวเคราะห์หินที่อยู่อาศัยได้แบบเดียวกับโลกนั้น ก่อตัวอย่างไร และสิ่งเหล่านี้ยังเกี่ยวข้องกับอนาคตของการตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบเช่นกัน.
อ่านเพิ่มเติม...
June 15, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/2UICKKc
โอกาสสูงที่จะพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอายุน้อย - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3cN12d5
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โอกาสสูงที่จะพบดาวเคราะห์คล้ายโลกอายุน้อย - ไทยรัฐ"
Post a Comment